Tuesday, April 17, 2012

IELTS Writing Tip


 บทความโดย Jeremy Hanlan


การเขียนอธิบายกราฟเส้น

เนื้อหา
ามที่เคยคุยไว้ ในข้อสอบ IELTS Writing Task 1 เราไม่จำเป็นต้องแบ่งแยกย่อหน้า เพราะเป็นข้อเขียนที่สั้นมากๆ  แต่บ่อยครั้งที่ผู้สอบพยายามแบ่งเป็นย่อหน้าย่อยๆ จนทำให้ข้อความที่มีอยู่ไม่กี่ประโยคดูสะเปะสะปะไม่เหมือนย่อหน้าเลยสักนิด รูปแบบย่อหน้าปกติที่ยอมรับได้ก็คือ เกริ่นนำ เคาะเว้นหนึ่งบรรทัด และหนึ่งย่อหน้าเนื้อหา ส่วนบทสรุปนั้นไม่จำเป็นต้องมีก็ได้
หลังจากที่กำหนดแผนคร่าวๆ ด้วยการวงกลมส่วนที่สำคัญๆ ในกราฟแล้ว เรายังควรเลือก Tense ที่เหมาะสม (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่เรื่องThe IELTS Academic Writing Task (part 2) Grammatical Range and Accuracy)

จากนั้นให้ ตัดสินใจ ว่าเราจะแบ่งข้อมูลไปในทิศทางใด แบ่งตามวันที่ หรือตามหัวข้อ ส่วนจะเป็นแบบไหนขึ้นอยู่กับโจทย์ที่ให้มา
โดย กราฟเส้น นั้นจะมีลักษณะเป็นเส้น (จากด้านหนึ่ง ถึงด้านหนึ่งในเส้นเดียวกัน) ดังนั้นหากเป็นช่วงเวลาจะแทนค่าด้วยแกนแนวนอน (อยู่ด้านล่าง) ซึ่งเราสามารถแบ่งข้อมูลตามเวลาได้
ตัวอย่าง
เราควรตามดูข้อมูลในแต่ละเส้น (USA, Europe และAustralia) ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง พฤษภาคม พยายามอย่าเขียนความเคลื่อนไหวของแต่ละภูมิภาคเรียงตามเดือน เพราะผลที่จะได้จะซ้ำกันมากๆ ซ้ำทั้งชื่อภูมิภาค และเดือน

วิธีเขียนที่ไม่เวิร์ก (แนวตั้ง)
In January the quantity for the USA was at 20%, for Europe at 30% and for Australia at around 45%. Next, in February it increased to just under 30% for the USA, it rose to 40% for Europe and for Australia there was a sizeable drop to approximately 32%...and so on

วิธีเขียนที่ดี (แนวนอน)
The USA started at 20% in January before it increased to just under 30% in February, this fell slightly in March and reached only 20% in April before dropping to its lowest point of 10% at the end of May.

จากตัวอย่างการเขียนที่ดี คำว่า Australia ถูกอ้างอิงเพียงครั้งเดียว และหลังจากนั้นก็ถูกแทนที่ด้วยit’ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความต่อเนื่องและเป็นธรรมชาติ
จำไว้ว่า ใน  Task 1 เรากำลังอธิบายกราฟที่เห็น เราไม่ได้กำลังวิเคราะห์ข้อมูลหรือให้เหตุปัจจัยว่าทำไมเส้นกราฟถึงเป็นเช่นนั้น (ไม่แสดงความคิดเห็น) สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเปรียบเทียบข้อมูลสถิติที่ตัวแปรแต่ละตัวมีความเชื่อมโยงกัน
นอกจากนี้ เราควรใช้คำประเภท expression เช่น
To begin with a first point,....
เพื่อดึงความสนใจของผู้อ่านให้ติดตาม และควรใช้อย่างหลากหลาย อาทิ
Next, following this, furthermore, in addition, finally, lastly...
คำพวกนี้จะช่วยให้ข้อเขียนของเราเป็นไปอย่างมีระบบระเบียบ น่าอ่านเพราะไม่มีคำซ้ำๆ ให้เห็นอีกด้วย

ตัวอย่างคำตอบที่ดี
The line-graph illustrates the quantity of visitors in SE Asia in 2003from January to the end of May, divided by the USA, Europe and Australia and measured in percentages. Overall, we can see that the quantity for both the USA and Australia decreases over this period, whereas that for Europe increases.
To begin with a first point, the amount of visitors from the USA started at 20% in January before it increased to just under 30% in February, this fell slightly in March and reached only 20% in April before dropping to its lowest point of 10% at the end of May,10% less than at the start of the year. Following this, Australia was about 25% greater than the USA at 45% at the start of the year; this fell to a little over 32% over the next two months before reaching a trough of only 5% in April. Finally, Europe  began at 30% , gradually grew to 40% in February before hitting a peak of 50% in April, it then fell 10% to finish at 40% in May; 30% and 35% less than the USA and Australia respectively.



เกี่ยวกับผู้เขียน
นับตั้งแต่ย้ายมาทำงานและใช้ชีวิตในเมืองไทย Jeremy Hanlan ได้คลุกคลีกับข้อสอบ IELTS ในทุกแง่มุม ทั้งในฐานะผู้คุมสอบ อาจารย์คอร์สเตรียมสอบ เจ้าหน้าที่ฝึกหัดครู และผู้พัฒนาหลักสูตรการสอน IELTS รวมทั้งยังเป็นนักเขียนอีกด้วย ปัจจุบัน Jeremy เป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษที่ British Council สาขาสยามสแควร์ ไปพร้อมๆ กับการทำงานเขียน และพัฒนา 4 หลักสูตร IELTS อีกทั้งยังเป็นวิทยากรเวิร์กช็อปให้แก่คณาจารย์ เพื่อเพิ่มความสามารถในการสอนเกี่ยวกับข้อสอบ IELTS ทั้ง 4 หมวดอีกด้วย

Monday, April 9, 2012

IELTS Writing Tip

บทความโดย Russell Evans

โครงสร้างของ Essay
การวางเค้าโครงบทความที่จะเขียนในข้อสอบเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะผู้ตรวจข้อสอบมักพุ่งไปที่บทเกริ่น (Introduction) และข้อสรุป (Conclusion) ที่ต้องกระชับได้ใจความและสอดคล้องกับโจทย์ที่ให้ไว้ ส่วนเนื้อหา (Body) ที่เอาไว้อธิบายเหตุผลสนับสนุนนั้น เราจะเขียนกี่ย่อหน้าก็ได้ อันนี้ไม่มีกฎตายตัว แต่ขอให้รู้ไว้ในใจว่า
·        เรามีแผนที่ชัดเจนว่า เรื่องนี้เราจะเขียนกี่ย่อหน้ากันแน่
·        ใช้ย่อหน้า (Paragraph) แยกประเด็นหลักๆ ออกจากกัน
·        เริ่มต้นเขียนสิ่งที่สำคัญที่สุด หรือหลักฐานที่มีน้ำหนักมากที่สุดก่อนขยายไปยังประเด็นย่อยๆ 

วิธีการข้างต้นนี้จะทำให้กระบวนการเขียนของเราเต็มไปด้วยตรรกะที่สมเหตุสมผล และเชื่อมโยงความคิดได้อย่างชัดเจน

โจทย์ช่วยกำหนดโครงสร้างของ Essay?
บางครั้งโจทย์ก็ช่วยกำหนดโครงสร้างของ Essay ให้เราได้เหมือนกัน  โดยเฉพาะโจทย์ประเภทที่ให้เราพูดถึงข้อดีข้อเสีย หรือให้แสดงความคิดเห็นในสองขั้วความแตกต่าง  ในโจทย์แบบนี้ ย่อหน้า Body จะถูกแบ่งสองย่อหน้าทันที ย่อหน้าแรกพูดถึงข้อดี หรือขั้วความเห็นที่หนึ่ง และอีกย่อหน้าเป็นข้อเสีย หรือขั้วความเห็นของฝ่ายตรงข้าม

โจทย์ประเภทเห็นด้วย / ไม่เห็นด้วย ?
โจทย์ที่ให้เราต่อยอดความคิดเห็นทั้งที่เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยนั้น เราจำเป็นต้องสร้างระบบระเบียบทางความคิดกันสักหน่อย ลองดูตัวอย่างโจทย์ข้างล่างนี้
 
The main purpose of an education system should be to prepare young people for the world of work.
To what extent do you agree or disagree with this statement?


ความคิดเห็นของเราต่อโจทย์นี้ สามารถอยู่ได้ในทุกระดับของกราฟด้านล่างนี้เช่นกัน

ไม่เห็นด้วย 100%      ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย                ส่วนมากเห็นด้วย        เห็นด้วย 100%
 <--------------------------------------------------------------------------------------------------------->


สมมติว่าเราเห็นด้วย 100%  เราก็เขียนไปหนึ่งย่อหน้าที่อุดมด้วยเหตุผลสนับสนุนทั้งหมด ว่าทำไมเราถึงเห็นด้วยกับโจทย์นี้ได้เลย และไม่โดนตัดคะแนนด้วย ตราบใดที่เหตุผลของเราชัดเจนและมีหลักฐานประกอบที่ดี
แต่จากประสบการณ์ของผู้เขียน Essay ที่มีสมดุลทางความคิดจะเขียนได้ง่ายกว่า หนึ่งในวิธีสร้างความสมดุลให้กับ Essay ของเราก็คือ เขียนหนึ่งย่อหน้าสนับสนุนเห็นด้วยกับ Statement ของโจทย์ ส่วนย่อหน้าถัดไปคือพื้นที่ของเหตุผลหักล้างที่เราไม่เห็นด้วย  สังเกตว่า วิธีการนี้จะช่วยทวีไอเดีย เพิ่มความน่าสนใจให้กับ Essay ของเราได้ แต่อย่าลืม! ว่าสุดท้ายแล้ว เรายังต้องเลือกข้างใดข้างหนึ่ง และเขียนย้ำ (Re-state) ความเห็นข้างนั้นๆ อีกครั้งในย่อหน้าสรุป

โจทย์ประเภทปัญหา / แนวทางแก้ไข
นี่เป็นโจทย์อีกประเภทที่ต้องไตร่ตรองก่อนลงมือทำ  และมันไม่เวิร์กเลย หากเราแยกปัญหา และแนวทางแก้ไขไว้คนละย่อหน้า เพราะสองขั้วนี้เป็นเรื่องด้วยกัน แต่ก็ต้องระวังไม่ให้ย่อหน้านั้นยาวเกินไป วิธีง่ายๆ คือ พยายามดึงปัญหาและทางแก้หลักๆ ไว้ในหนึ่งย่อหน้า และแยกประเด็นรองลงมาใส่ไว้ในย่อหน้าถัดไป

จะเริ่มต้นย่อหน้าใหม่อย่างไรดี?
มีอยู่สองแบบที่ทำกันบ่อยๆ ซึ่งไม่ว่าแบบไหนที่เราเลือกก็เหมือนกัน แค่ขอให้รู้ชัดๆ ว่าย่อหน้าของเราเริ่มและจบตรงไหน วิธีแรกเรียกว่าบล็อกสไตล์ คือ เริ่มที่ขอบกระดาษซ้าย และเว้นหนึ่งบรรทัดเมื่อต้องการขึ้นย่อหน้าใหม่  ส่วนวิธีที่สองคือการเคาะย่อหน้าให้เขยิบเข้ามาจากขอบกระดาษด้านซ้าย และไม่เว้นบรรทัดเมื่อขึ้นย่อหน้าใหม่

เกี่ยวกับผู้เขียน
Russell Evans มีประสบการในการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยมากว่า 10 ปีแล้ว และนอกจากนี้ ยังมีส่วนร่วมในการให้ความช่วยเหลือนักเรียน กับทีม British Council - IELTS มาตั้งแต่ปี 2004
 

Monday, March 19, 2012

IELTS Writing Tip

บทความโดย Russell Evans
อยากเห็นอะไรในกระดาษคำตอบ?

สำหรับคนตรวจข้อสอบแล้ว สิ่งที่อยากเห็นที่สุด คงหนีไม่พ้น บทความที่มีตรรกะ มีระบบระเบียบทางความคิด สอดคล้องกับโจทย์ เต็มไปด้วยคำศัพท์ และโครงการทางไวยากรณ์ที่เหมาะสม สามารถเชื่อมโยงไอเดียได้ทั้งภายในประโยค และระหว่างย่อหน้าได้ชัดเจน รวมถึงการใช้เครื่องหมายวรรคตอน และสะกดคำแม่นยำ และขาดไม่ได้คือมีความยาวอย่างน้อย 250 คำขึ้นไป

โดยจะพิจารณาให้คะแนนจาก 4 ปัจจัย ดังนี้
·        ความสามารถในการตอบคำถาม
·        การเชื่อมโยง และจัดระเบียบทางความคิด
·        ความหลากหลาย และถูกต้องของคำศัพท์
·        ความหลากหลาย และถูกต้องของไวยากรณ์

ด้านล่างนี้ คือรายละเอียดของ 4 ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดระดับคะแนนของผู้สอบ  โดยแบ่งเป็น ควรปรับปรุง (ระดับคะแนน 4 - 4.5), พอใช้ (ระดับคะแนน 5 - 5.5) และบทความที่ดี (ระดับคะแนน 6+)

ความสามารถในการตอบคำถาม
·        ควรปรับปรุง ผู้สอบมักเข้าใจคำถามผิดๆ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะโจทย์ประกอบด้วยคำหรือวลีที่ผู้สอบไม่รู้ และเดาไม่ได้ จึงทำให้คำตอบที่ออกมาคลาดเคลื่อน หรือผิดคำสั่ง จนบางครั้งความคิดเห็นที่แสดงออกมานั้นยากที่จะเข้าใจ 
·        พอใช้ - ผู้สอบมีความเข้าใจ และพยายามตอบทุกคำถามที่ได้รับ แต่ยังขาดการพัฒนาต่อยอดความคิด มีตัวอย่างสนับสนุนไม่ดีพอ หรือบางครั้งให้ตัวอย่างที่ฟังแล้วยังไม่สมเหตุสมผลเท่าใดนัก
·        ดี - ผู้สอบเข้าใจคำถามได้เป็นอย่างดี รวมทั้งตอบคำถามได้อย่างครบถ้วน เต็มไปด้วยแนวคิดและข้อมูลสนับสนุนจนสามารถ โน้มน้าวผู้อ่านได้

การจัดการและความเชื่อมโยง
·        ควรปรับปรุง - คำตอบสร้างความสับสนให้กับผู้อ่าน ไอเดียกระจัดกระจายและซ้ำๆ กันในหลายๆ ย่อหน้า การใช้คำเชื่อม (Transitions )ระหว่างไอเดียไม่ชัดเจน ทำให้คำตอบที่ได้เหมือนกระโดดข้ามไปข้ามมา ปราศจากจุดที่ช่วยดึงความสนใจของผู้อ่าน
·        พอใช้ - คำตอบมีการจัดลำดับที่ดีขึ้น แต่ละย่อหน้ามีประเด็นหลักชัดเจน ผู้สอบใช้คำเชื่อมบางตัว แต่ก็ยังคงเลือกคำซ้ำๆ กัน ทำให้งานเขียนดูไม่หลากหลาย
·        ดี - คำตอบถูกจัดการไว้อย่างเรียบร้อย (เช่น พูดถึงข้อดีข้อเสีย ก็แยกอธิบายข้อดีไว้หนึ่งย่อหน้า และ ข้อเสียไว้อีกย่อหน้า) มีเทคนิคเชื่อมโยงไอเดียจำนวนมาก เพื่อบอกรายละเอียดให้ผู้อ่านเข้าใจ เช่น ขณะที่พูดถึงทัศนะของฝ่ายตรงข้าม หรือ การใช้หลักฐานสนับสนุนหัวข้อที่กำลังจะนำเสนอต่อไป

จำนวน และความแม่นยำของคำศัพท์
·        ควรปรับปรุง - มีคำศัพท์อยู่น้อยนิด ผู้สอบใช้เพียงคำหรือวลีง่ายๆ หรือบางครั้งเลือกคำศัพท์ที่ยากแก่การเข้าใจเนื้อหาโดยรวม นอกจากนี้ยังสะกดคำง่ายๆ (หรือคำที่โจทย์ให้มา) ผิดอย่างไม่น่าให้อภัย
·        พอใช้ - จำนวนความผิดพลาดจัดอยู่ในเกณฑ์ต่ำ และอาจต้องใช้ความพยายามในการอ่านพอประมาณ เพื่อทำความเข้าใจเนื้อหา แต่ทั้งนี้ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น ไม่ส่งผลกระทบขณะอ่านมากนัก
·        ดี มีศัพท์อยู่ในมือจำนวนมาก ส่งผลให้คำซ้ำๆ กับโจทย์มีน้อย มีข้อผิดพลาดอยู่บ้างเล็กน้อย เช่น สะกดคำผิด หรือใช้คำที่ไม่เหมาะสม แต่เมื่อดูภาพรวมแล้วบทความนั้นสามารถอ่านได้ลื่นไหล สามารถเข้าใจความหมายที่ผู้สอบต้องการสื่อออกมา  นอกจากนี้ยังมีการใช้ Collocation และ Idiomatic expression ได้เป็นอย่างดี

ความหลากหลาย และแม่นยำของไวยากรณ์
·        ควรปรับปรุง-  ผู้สอบใช้ประโยคสั้น ๆ ง่ายๆ และทำผิดในเรื่องเบสิกๆ บางครั้งอ่านไปแล้วแทบจะไม่เจอประโยคที่ถูกต้องเลย แถมความหมายยังกำกวม ไม่ชัดเจนเนื่องจากขาดความรู้ทางแกรมม่านั่นเอง
·        พอใช้ -  ผู้สอบมีความพยามที่จะใช้โครงสร้างประโยคที่ซับซ้อน และรูปไวยากรณ์ที่หลากหลาย  แต่ทั้งนี้ก็ยังมีข้อผิดพลาดให้เห็น แต่โดยรวมแล้วผู้ตรวจสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ไม่ยากนัก
·        ดี - ผู้สอบแสดงทักษะการใช้โครงสร้างที่หลากหลาย ถึงแม้ว่าจะมีบางจุดที่ผิดพลาด แต่ก็ไม่ซีเรียส และไม่มีผลต่อข้อความที่สื่อออกมา

เกี่ยวกับผู้เขียน
Russell Evans มีประสบการในการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยมากว่า 10 ปีแล้ว และนอกจากนี้ ยังมีส่วนร่วมในการให้ความช่วยเหลือนักเรียน กับทีม British Council - IELTS มาตั้งแต่ปี 2004

Sunday, March 11, 2012

IELTS General Tip

บทความโดย Russell Evans


คะแนนพุ่งด้วย Collocation


อะไรคือ Collocation?
Collocation คือ คำที่มักใช้คู่กัน ซึ่งคำคู่พวกนี้มีอยู่มากมายจนเราคาดไม่ถึงกันเลยทีเดียว ลองดูตัวอย่างด้านล่างเพื่อจะได้เห็นชัดเจนขึ้น

1.        Many teenagers are too fond of fast food.
2.       If you want to stay healthy, avoid too much quick food.
3.       If the train’s late arriving, we can get a fast snack at the station.
4.       At lunchtime, I only had time for a quick snack.

ประโยคที่ 1 และ 4 พอจะเข้าเคล้า แต่ประโยคที่ 2 และ 3 นั้นดูแปลกๆ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ Fast เป็นคำที่ต้องจับคู่กับ food และ quick จับคู่กับ snack นั่นเอง

·        fast food และ quick snack = ถูกต้อง
·        quick food  และ fast snack  = ผิด

ถึงแม้ fast และ quick จะมีความหมายที่ใกล้เคียงกัน แต่เราก็ไม่สามารถสลับคำกันได้ เพราะ  quick food และ fast snack ต่างไม่ใช่คำคู่ของกันและกัน

ทำไม Collocations ถึงมีความสำคัญ ?
ในข้อสอบ IELTS การรู้จักและสามารถใช้ Collocations ช่วยเราได้มากโดยเฉพาะในข้อสอบการฟัง หากเรารู้  Collocations ของศัพท์ จะทำให้เราคาดการณ์คำตอบได้ก่อนที่จะได้ยินเสียงจากเทปข้อสอบ ตัวอย่างเช่น เราเจอโจทย์เกี่ยวกับอาหารและสุขภาพ การรู้คำคู่ของ diet จะทำให้เราเดาคำตอบในประโยคได้ไม่ยากเลย

·         Most doctors stress the need to eat a _______________ diet.

หากเป็นเจ้าของภาษา ร้อยทั้งร้อยสามารถเดาได้ทันทีว่าคำตอบต้องเป็น balanced หรือไม่ก็ healthy เพราะสองคำนี้เป็นคำคู่ของ diet แน่นอนว่า คำตอบที่มาจากการคาดการณ์อาจไม่แม่นยำ100% แต่หากได้ลองเอาประโยคข้างบนไปถามฝรั่งผมทองดูล่ะก็ รับรองว่ามีเซอร์ไพร์ส เพราะเขาตอบถูกเหมือนกันหมด ฉะนั้นหากเราไม่รู้ Collocations ของ diet ข้อสอบง่ายๆ ข้อนี้ก็กลายเป็นยากไปในพริบตา

นอกจากนี้ การรู้ Collocations ยังช่วยดึงคะแนนในข้อสอบ Writing และ Speaking ได้เป็นอย่างดี
ลองดูตารางด้านล่างที่จำลองว่าผู้สอบสองคนกำลังตอบในทิศทางเดียวกัน

นักเรียน  A
นักเรียน  B
…tackling problems…
…committing crimes…
…highly sophisticated…
…marine environment…

…fighting problems…
…doing crimes…
…greatly sophisticated…
…sea environment…

จะเห็นได้ว่า นักเรียน A มีความรู้เรื่อง Collocation เป็นอย่างดี ในขณะที่คำตอบของนักเรียน B พอเข้าใจได้แต่ไม่สละสลวยแบบสำนวนภาษาอังกฤษ

 รู้ได้อย่างไรว่าคำนั้น คำนี้มีคำคู่
สำหรับ Native Speakers เขารู้มาตั้งแต่เกิดแล้วว่าคำไหนต้องใช้กับคำไหน บางคำเกิดจากการผสมผสานของเสียงที่เป็นธรรมชาติ ในขณะที่อีกหลายคำก็ใช้กันอย่างไม่มีที่มาที่ไป ฉะนั้นจึงไม่มีกฏตายตัวสำหรับการเรียนรู้ แต่ทางลัดที่ดีที่สุดก็คือ การเดินหน้าฟุดฟิดฟอไฟกับชาวต่างชาติ อ่านหนังสือภาษาอังกฤษเยอะๆ ฟังวิทยุ หรือดูทีวี   รวมทั้งใช้อินเตอร์เน็ตสะสม Collocations ใหม่ๆ อย่างใน Australianetwork.com ก็เป็นอีกหนึ่งแหล่งข้อมูลที่ดีสำหรับนักเรียน IELTS นอกจากนี้ ยังมีดิกชั่นนารีดีๆ ที่จะยกตัวอย่าง Collocations หรือพจนานุกรมออนไลน์อย่าง Macmillan Dictionary ที่ครบเครื่องเรื่อง Collocations และเทคนิคสุดท้ายก็คือ เมื่อใดก็ตามที่เราพบเจอคำคู่ใหม่ๆ ควรจดจำให้แม่น เพื่อเวลาทำข้อสอบจะได้หยิบมาใช้ได้อย่างคล่องแคล่วนั่นเอง 

เกี่ยวกับผู้เขียน
Russell Evans มีประสบการในการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยมากว่า 10 ปีแล้ว และนอกจากนี้ ยังมีส่วนร่วมในการให้ความช่วยเหลือนักเรียน กับทีม British Council - IELTS มาตั้งแต่ปี 2004

Wednesday, February 29, 2012

IELTS Writing Tip


 บทความโดย Jeremy Hanlan


ต้องทำอะไรบ้าง
ตามที่เคยเขียนไปเมื่อครั้งก่อน ข้อสอบเขียน Task 1 เป็นเหมือนงานโอนถ่ายข้อมูล ที่เราต้องอธิบายกราฟ แผนภูมิ ตาราง หรือบางครั้งอาจเป็นข้อมูลเชิงรูปภาพ ให้เป็นตัวหนังสือ โดยมีเวลา 20 นาทีในการลงมือทำ และใช้คำไม่น้อยกว่า 150 คำ

เทคนิคทั่วไป
ปกติโจทย์มักระบุชัดว่า รายงานที่เห็นเป็นของผู้บรรยายในมหาวิทยาลัย นั่นหมายความว่า เราต้องเขียนภาษาให้เป็นทางการ โดยระดับภาษาควรมีลักษณะดังนี้

          เลี่ยงการเขียนลดรูปของคำ (contractions) เช่น  they’ve = they have

          อย่าใช้คำแสลงหรือคำสะกดที่ไม่เป็นทางการ เช่น gonna = going to
          การใช้คำเต็มๆ นี้ ไม่เพียงแสดงถึงความเป็นมืออาชีพ แต่ยังช่วยเพิ่มจำนวนนับของคำได้ด้วย
          
          ห้ามใช้คำที่บ่งบอกว่า เรากำลังแสดงความคิดเห็นส่วนตัว โดยเด็ดขาด
          เช่น
          ‘It is INTERESTING to note’
                ‘I BELIEVE that…………..

จำไว้ว่า ข้อเขียนของเราควรเป็น “ข้อเท็จจริง”  เขียนจากสิ่งที่เราเห็นอยู่ตรงหน้า ไม่ใช่จากความเชื่อ หรือข้อมูลที่มีอยู่ก่อนแล้ว

     กล่าวถึงหัวเรื่องตามแบบฉบับของตัวเอง (paraphrase) โดยลำดับคำใหม่ และ ใช้คำ  ความหมายเหมือน
หากเราใช้คำศัพท์ตามที่โจทย์ให้บ่อยๆ เราจะกระเด็นไปอยู่กลุ่มที่คะแนนต่ำทันที

          เขียนเนื้อหาให้ครบถ้วน พร้อมบทสรุป

         ถ้าเจอกราฟแบบผสม เช่น กราฟวงกลม หรือ ตาราง ที่ข้อมูลแต่ละอันแยกจากกัน เรา
      สามารถรวมสองย่อหน้าเข้าด้วยกัน หรืออีกนัยหนึ่งคือ ย่อหน้าสรุปไม่ต้องมีก็ได้ในบางครั้ง

           ควรพูดถึงข้อมูลโดยรวมในย่อหน้าเกริ่นนำ เพื่อแสดงให้ผู้อ่านเห็นภาพรวมของกราฟนั้นๆ ออกแนวเป็นบทสรุปล่วงหน้า ที่ทำให้ย่อหน้าสุดท้ายมีน้ำหนักพอๆ กัน

วิเคราะห์เจาะลึก Essay
เกริ่นนำ (Introduction)
ควรประกอบด้วย what/who, where, when, how บวกด้วยภาพรวมของข้อมูล
ตัวอย่าง :

คำสั่ง
The graph below shows the number of unemployed male and female English teachers in Bangkok between 2001 and 2010

การเกริ่นแบบง่ายๆ
The line-graph illustrates the amount of out of work English teachers from 2001 to 2010 in Bangkok, divided by gender and measured in the number of teachers. Overall, we can see that the quantity for men increased over this period, whereas that for women decreased.
What /who             (paraphrased: unemployed English teachers) out of work English teachers
Where                    Bangkok
When                     (paraphrased: between 2001 and 2010) from 2001 to 2010
How                        divided by gender          measured in the number of teachers
Overall information:            quantity for men increased           whereas that for women decreased
สังเกต : ในบทเกริ่นนำ เป็นข้อเท็จจริง ฉะนั้นจึงเขียนโดยใช้ Present Simple tense

เนื้อหา (Body)
เราต้องประมวลผลความคิดให้ไว โดยวงกลมสิ่งที่สำคัญ หรือข้อมูลที่จำเป็นลงในกราฟเพื่อจะได้ไม่ลืมเขียนใน Essay โดยดูให้แน่ใจว่าข้อเขียนของเรามีครบทั้งตัวเลขสถิติและรายละเอียด มีการเปรียบเทียบแนวโน้มแบ่งตามช่วงเวลา หรือตามปัจจัยอื่นที่น่าสนใจ  เราไม่จำเป็นต้องเขียนทุกอย่างที่ได้มาจากกราฟ แต่ให้เลือกข้อมูลเด่นๆ ขึ้นมาเล่น เช่น จุดสูงสุด- ต่ำสุด ตัวแปรหลัก หรือความเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ ที่เกิดขึ้น
เหล่านี้คือเทคนิคเบื้องต้นของการเขียนในข้อสอบส่วนที่ 1  ครั้งต่อไป เราจะลงรายละเอียดกันมากขึ้นถึงการเขียนอธิบายในเนื้อหา 

เกี่ยวกับผู้เขียน
นับตั้งแต่ย้ายมาทำงานและใช้ชีวิตในเมืองไทย Jeremy Hanlan ได้คลุกคลีกับข้อสอบ IELTS ในทุกแง่มุม ทั้งในฐานะผู้คุมสอบ อาจารย์คอร์สเตรียมสอบ เจ้าหน้าที่ฝึกหัดครู และผู้พัฒนาหลักสูตรการสอน IELTS รวมทั้งยังเป็นนักเขียนอีกด้วย ปัจจุบัน Jeremy เป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษที่ British Council สาขาสยามสแควร์ ไปพร้อมๆ กับการทำงานเขียน และพัฒนา 4 หลักสูตร IELTS อีกทั้งยังเป็นวิทยากรเวิร์กช็อปให้แก่คณาจารย์ เพื่อเพิ่มความสามารถในการสอนเกี่ยวกับข้อสอบ IELTS ทั้ง 4 หมวดอีกด้วย

Wednesday, February 22, 2012

IELTS Reading Tip

บทความโดย Russell Evans











จัดการกับศัพท์แสนยาก

คำศัพท์ในข้อสอบ Reading
ในข้อสอบ Reading เราต้องต่อสู้กับ 40 คำถามจาก 3 บทความ (ความยาวประมาณ 900 คำต่อเรื่อง) ที่หลากหลายด้วยประเด็นและแหล่งที่มาทั้งนิตยสาร หนังสือพิมพ์ และหนังสือวิขาการ แต่ละบทความประกอบด้วยคำมากมายที่เราไม่รู้ หรือเคยเห็นผ่านๆ แต่จำไม่ได้ ซึ่งเราจะมีวิธีรับมือกับคำเหล่านี้อย่างไร วันนี้ผู้เขียนมีคำตอบ

มองข้ามไปบ้าง
ฟังดูยาก แต่เป็นเทคนิคที่สำคัญ วิธีการคือให้ถามตัวเองว่า เราต้องการความหมายของคำนี้เพื่อตอบคำถามจริงๆ หรือเปล่า?
ถ้า “ไม่” ก็ให้มองผ่านเลยไป แต่ถ้า “ใช่” ล่ะก็ ผู้เขียนพอมีเทคนิคดีๆ มาฝากกัน 

ลองดูตัวอย่างบทความเกี่ยวกับวิวัฒนาการอันนี้ดู
 
1
Fifty million years ago, the ancestors* of whales and sea-cows like Dugong dugon were
2
land-dwelling mammals, probably carnivores in the case of whales, herbivores in the
3
case of dugongs and manatees.  The ancestors of these and all other terrestrial
4
mammals had been, much earlier still, sea-dwelling fish.  The return to the water
5
by the whales and sea-cows was a homecoming.  As always, we can be sure that
6
the journey back to a marine lifestyle took place gradually, over millions of years.

Glossary
* relatives who lived a long time ago


Dawkins, R. (1996) Climbing Mount Improbable. Harmondsworth: Penguin Books. 118

ศัพท์พร้อมนิยามความหมาย
ไม่ว่าจะช้าหรือเร็ว ความหมายของคำก็จะปรากฏในเนื้อหา อย่างในบรรทัดที่ 6 คำว่า Marine นั้นถูกอธิบายไว้ก่อนแล้ว (return to the water =  journey back to a marine lifestyle) หรือบางคำ (เช่น ancestors) อาจมีคำจำกัดความไว้ในอภิธานศัพท์ (Glossary) แล้วก็ได้

คำคุ้นๆ เหมือนจะรู้
ในบรรทัดที่ 2 คำว่า herbivore นั้นไม่ค่อยคุ้น แต่ดูคล้ายๆ คำว่า carnivore ที่แปลว่าสัตว์กินเนื้อ ส่วนคำว่า herb คือ พืชชนิดหนึ่ง ฉะนั้นอาจแปลได้ว่า “สัตว์กินพืช”

อ่านบริบทแล้วหาคำแปล
มีความแตกต่างระหว่าง terrestrial mammals และ sea-dwelling fish ในบรรทัดที่ 3 และ 4 ซึ่งบางที terrestrial อาจเป็นอะไรที่ตรงข้ามกับ sea-dwelling ก็ได้

มาเดากันดูสักตั้ง
อย่างในบรรทัดที่ 3 คำว่า manatees ปรากฏคู่กับ whales และ dugongs ตรงนี้เราสามารถเดาได้ว่า manatee คือคำนาม และมีรูปพหูพจน์ เติม -s ฉะนั้น manatees อาจหมายถึงสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำเหมือนกับปลาวาฬ

Prefixesหรือ Suffixes ช่วยได้
บรรทัดที่ 6 –ly อยู่ท้ายคำ gradually และตามหลังกริยา took place บอกเราได้ว่านี่คือ adverb ในบางบทความ Prefixes ยังเป็นคำใบ้ชั้นยอดที่บอกความหมายของคำ เช่น  dishonest (not honest), unhappy (not happy), improper, nonsense, illegal, etc

คำที่พิมพ์ด้วยตัวเอียง เป็นชื่อเฉพาะ
หากมีคำที่พิมพ์ด้วยตัวอักษรเอียงในบทความ คำนั้นอาจเป็นคำศัพท์เฉพาะทาง (เช่น Dugong dugon ในบรรทัดที่ 1) หรืออาจไม่ใช่คำภาษาอังกฤษเลยก็ได้ ฉะนั้นอย่าได้แคร์ หากความหมายของคำเฉพาะนั้นไม่ได้อยู่ในอภิธานศัพท์ (Glossary) ที่ให้มาด้วย 

เกี่ยวกับผู้เขียน
Russell Evans มีประสบการในการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยมากว่า 10 ปีแล้ว และนอกจากนี้ ยังมีส่วนร่วมในการให้ความช่วยเหลือนักเรียน กับทีม British Council - IELTS มาตั้งแต่ปี 2004