บทความโดย Jeremy Hanlan
True/
False/Not Given
เป็นกลุ่มคำถามที่บรรดาผู้สอบลงความเห็นตรงกันว่า “หิน”
ไม่แพ้ใคร โดยเฉพาะคอนเซ็ปต์ของ Not Given ที่น่าฉงนงงงวย แถมยังต้องอธิบาย
“พยายามทำให้ผู้อ่านเชื่อว่า ข้อความนั้น ถูกหรือผิด” อีกด้วย
มาดูกันดีกว่าว่า จริงๆ
แล้วแต่ละหัวข้อมีความหมายอย่างไร :
True
‘True’ หมายถึง ประเด็นและข้อมูลเหล่านั้นมีความหมายสอดคล้องซึ่งกันและกัน
ตัวอย่างเช่น : (ในโจทย์)
Most
of the national, publicly funded universities are of a similarly high standard
(ในกระดาษคำถาม)
The
majority public universities in Australia
are of comparable quality
ตรงนี้
เรามีประธาน (publicly
funded universities) และรายละเอียด (similarly high
standard/ comparable quality) เหมือนกัน ดังนั้น
ข้อมูลทั้งสองจึงมีความสอดคล้องกัน
False
‘False’ หมายถึงประเด็น รายละเอียด ไม่ว่าจะส่วนใดส่วนหนึ่ง
หรือทั้งสองส่วน มีความแตกต่าง หรือขัดแย้งกัน
ตัวอย่างเช่น : (ในโจทย์)
(ในกระดาษคำถาม)
ถึงแม้ทั้งสองประโยคจะมีประธานตัวเดียวกัน (Australia ) แต่ในรายละเอียดที่ตามมากลับมีความแตกต่าง (dangerous
country/ public safety) ดังนั้นทั้งสองประโยคจึงขัดแย้งกัน
Not Given
‘Not
Given’ อาจประกอบด้วยประเด็นที่เหมือนกัน แต่รายละเอียดนั้นกลับไม่มีการพูดถึง
แม้ว่ารายละเอียดนั้นจะปรากฏ
ในรูปของ
”ความสอดคล้อง” หรือ “ความขัดแย้ง” ก็ตาม
ตัวอย่างเช่น : (ในโจทย์)
(ในกระดาษคำถาม)
จากตัวอย่าง
เรามีประธานตัวเดียวกัน แต่รายละเอียดที่โชว์ (best universities/top 3 universities in the
world) นั้นดูคล้ายแต่ไม่ตรงกันซะทีเดียว ในจุดนี้
ถึงแม้รายละเอียดจะไม่เหมือนกัน แต่ทั้งสองประโยคอาจเป็นเรื่องจริงที่ว่า มหาวิทยาลัย
3 อันดับต้นๆ อาจตั้งอยู่ในประเทศแคนาดาก็ได้
เพียงแต่เราไม่รู้เท่านั้นเอง!
คำถามประเภทนี้ เราต้องมั่นฝึกฝนทำให้เคยชิน
เพราะในชีวิตประจำวันเราไม่ค่อยได้ทำกันเท่าไรนัก
เคล็ดลับที่ห้ามพลาด
อย่าประเมินความยากง่ายแค่หน้าตาที่เราเห็นกับข้อสอบประเภทนี้
เราต้องแปลงร่างเป็นนักวิเคราะห์ที่ดี ไม่คิดเหมาเอานู้นเอานี่มารวมกันมากจนเกินไป
เห็นกันมาไม่น้อยกับผู้สอบที่ชอบอ่านบางช่วงตอนหรือพิจารณาข้อมูลบางจุด
เพราะคิดว่าตัวเองรู้คำตอบแล้ว แต่พอเปิดเฉลยทีไรก็พบว่า “ผิดเต็มๆ”
ตัวอย่างเช่น
(ในโจทย์)
Ploy
is a Thai student who has recently returned from a trip to the UK . She had a
good time visiting many people while she was there but found the weather to be
very wet and cold.
(คำถามในกระดาษข้อสอบ)
Ploy
is a woman
คำตอบที่ถูกต้องคือ
NOT GIVEN
ทำไมนะเหรอ?
อันดับแรก
เรามักเหมารวมว่า สรรพนาม ‘she’ ที่โจทย์ใช้นั้นหมายถึง “ Woman”และมั่นใจว่า ประธาน (Ploy) คือ ชื่อของผู้หญิง
แต่ในอีกมุมหนึ่ง Ploy อาจเป็น เด็กผู้หญิง (Girl) ที่อ้างอิงถึง
“อายุ” มากกว่า “เพศ” ก็ได้
นี่คือตัวอย่างการด่วนสรุป ที่ผู้สอบเห็นคำว่า She ปุ๊บก็คิดอย่างผิวเผินถึง “เพศ”
โดยไม่คำนึงปัจจัยอื่นอย่าง “อายุ”
อย่างไรก็ดี หากคำถามเปลี่ยนเป็น
Ploy
is female
คำตอบที่ได้ในตอนนี้
จะเท่ากับ TRUE
ท่องจำขึ้นใจ
อย่าด่วนตื่นเต้นไปกับความคิดแว่บแรก
ให้พินิจพิเคราะห์รายละเอียดแวดล้อมอย่างถ้วนถี่
ถ้าพบว่าข้อไหนยากให้ข้ามไปทำตอนท้าย จำไว้ว่าข้อสอบส่วนนี้ เป็นแบบปรนัย ฉะนั้น
อย่าปล่อยให้กระดาษคำตอบโล่ง โดยเฉพาะนาทีสุดท้าย หากเรายังทำข้อสอบในส่วน TRUE/FALSE/NOT GIVEN ไม่ครบ
อย่าลืมเร่งมือตอบข้อที่เหลือด้วย TRUE!
![]() |
เกี่ยวกับผู้เขียน
นับตั้งแต่ย้ายมาทำงานและใช้ชีวิตในเมืองไทย Jeremy Hanlan ได้คลุกคลีกับข้อสอบ IELTS ในทุกแง่มุม ทั้งในฐานะผู้คุมสอบ อาจารย์คอร์สเตรียมสอบ เจ้าหน้าที่ฝึกหัดครู และผู้พัฒนาหลักสูตรการสอน IELTS รวมทั้งยังเป็นนักเขียนอีกด้วย ปัจจุบัน Jeremy เป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษที่ British Council สาขาสยามสแควร์ ไปพร้อมๆ กับการทำงานเขียน และพัฒนา 4 หลักสูตร IELTS อีกทั้งยังเป็นวิทยากรเวิร์กช็อปให้แก่คณาจารย์ เพื่อเพิ่มความสามารถในการสอนเกี่ยวกับข้อสอบ IELTS ทั้ง 4 หมวดอีกด้วย
|
No comments:
Post a Comment