บทความโดย Russell Evans
โครงสร้างของ Essay
การวางเค้าโครงบทความที่จะเขียนในข้อสอบเป็นสิ่งที่สำคัญ
เพราะผู้ตรวจข้อสอบมักพุ่งไปที่บทเกริ่น (Introduction)
และข้อสรุป (Conclusion) ที่ต้องกระชับได้ใจความและสอดคล้องกับโจทย์ที่ให้ไว้ ส่วนเนื้อหา (Body) ที่เอาไว้อธิบายเหตุผลสนับสนุนนั้น เราจะเขียนกี่ย่อหน้าก็ได้
อันนี้ไม่มีกฎตายตัว แต่ขอให้รู้ไว้ในใจว่า
·
เรามีแผนที่ชัดเจนว่า
เรื่องนี้เราจะเขียนกี่ย่อหน้ากันแน่
·
ใช้ย่อหน้า (Paragraph) แยกประเด็นหลักๆ ออกจากกัน
·
เริ่มต้นเขียนสิ่งที่สำคัญที่สุด
หรือหลักฐานที่มีน้ำหนักมากที่สุดก่อนขยายไปยังประเด็นย่อยๆ
วิธีการข้างต้นนี้จะทำให้กระบวนการเขียนของเราเต็มไปด้วยตรรกะที่สมเหตุสมผล
และเชื่อมโยงความคิดได้อย่างชัดเจน
โจทย์ช่วยกำหนดโครงสร้างของ Essay?
บางครั้งโจทย์ก็ช่วยกำหนดโครงสร้างของ Essay ให้เราได้เหมือนกัน
โดยเฉพาะโจทย์ประเภทที่ให้เราพูดถึงข้อดีข้อเสีย
หรือให้แสดงความคิดเห็นในสองขั้วความแตกต่าง
ในโจทย์แบบนี้ ย่อหน้า Body
จะถูกแบ่งสองย่อหน้าทันที ย่อหน้าแรกพูดถึงข้อดี หรือขั้วความเห็นที่หนึ่ง
และอีกย่อหน้าเป็นข้อเสีย หรือขั้วความเห็นของฝ่ายตรงข้าม
โจทย์ประเภทเห็นด้วย / ไม่เห็นด้วย ?
โจทย์ที่ให้เราต่อยอดความคิดเห็นทั้งที่เห็นด้วย
หรือไม่เห็นด้วยนั้น เราจำเป็นต้องสร้างระบบระเบียบทางความคิดกันสักหน่อย ลองดูตัวอย่างโจทย์ข้างล่างนี้
The main purpose of an education system should be to prepare young people for the world of work.
To what extent do you agree or disagree with this statement?
ความคิดเห็นของเราต่อโจทย์นี้
สามารถอยู่ได้ในทุกระดับของกราฟด้านล่างนี้เช่นกัน
ไม่เห็นด้วย 100% ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย ส่วนมากเห็นด้วย เห็นด้วย 100%
สมมติว่าเราเห็นด้วย 100% เราก็เขียนไปหนึ่งย่อหน้าที่อุดมด้วยเหตุผลสนับสนุนทั้งหมด
ว่าทำไมเราถึงเห็นด้วยกับโจทย์นี้ได้เลย และไม่โดนตัดคะแนนด้วย
ตราบใดที่เหตุผลของเราชัดเจนและมีหลักฐานประกอบที่ดี
แต่จากประสบการณ์ของผู้เขียน Essay ที่มีสมดุลทางความคิดจะเขียนได้ง่ายกว่า หนึ่งในวิธีสร้างความสมดุลให้กับ Essay ของเราก็คือ เขียนหนึ่งย่อหน้าสนับสนุนเห็นด้วยกับ Statement ของโจทย์ ส่วนย่อหน้าถัดไปคือพื้นที่ของเหตุผลหักล้างที่เราไม่เห็นด้วย สังเกตว่า วิธีการนี้จะช่วยทวีไอเดีย
เพิ่มความน่าสนใจให้กับ Essay
ของเราได้ แต่อย่าลืม! ว่าสุดท้ายแล้ว
เรายังต้องเลือกข้างใดข้างหนึ่ง และเขียนย้ำ (Re-state) ความเห็นข้างนั้นๆ อีกครั้งในย่อหน้าสรุป
โจทย์ประเภทปัญหา / แนวทางแก้ไข
นี่เป็นโจทย์อีกประเภทที่ต้องไตร่ตรองก่อนลงมือทำ และมันไม่เวิร์กเลย หากเราแยกปัญหา
และแนวทางแก้ไขไว้คนละย่อหน้า เพราะสองขั้วนี้เป็นเรื่องด้วยกัน
แต่ก็ต้องระวังไม่ให้ย่อหน้านั้นยาวเกินไป วิธีง่ายๆ คือ
พยายามดึงปัญหาและทางแก้หลักๆ ไว้ในหนึ่งย่อหน้า และแยกประเด็นรองลงมาใส่ไว้ในย่อหน้าถัดไป
จะเริ่มต้นย่อหน้าใหม่อย่างไรดี?
มีอยู่สองแบบที่ทำกันบ่อยๆ ซึ่งไม่ว่าแบบไหนที่เราเลือกก็เหมือนกัน
แค่ขอให้รู้ชัดๆ ว่าย่อหน้าของเราเริ่มและจบตรงไหน วิธีแรกเรียกว่าบล็อกสไตล์ คือ
เริ่มที่ขอบกระดาษซ้าย และเว้นหนึ่งบรรทัดเมื่อต้องการขึ้นย่อหน้าใหม่ ส่วนวิธีที่สองคือการเคาะย่อหน้าให้เขยิบเข้ามาจากขอบกระดาษด้านซ้าย
และไม่เว้นบรรทัดเมื่อขึ้นย่อหน้าใหม่
![]() |
เกี่ยวกับผู้เขียน
Russell Evans มีประสบการในการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยมากว่า 10 ปีแล้ว และนอกจากนี้ ยังมีส่วนร่วมในการให้ความช่วยเหลือนักเรียน กับทีม British Council - IELTS มาตั้งแต่ปี 2004
|
No comments:
Post a Comment