สูตรเด็ด “เน้นเดา” พิชิตข้อสอบการฟัง
ภาพรวมข้อสอบการฟัง
เห็นชื่อเรื่องแล้วหลายคนอาจงงว่า มันเกี่ยวกันตรงไหน? ก่อนจะพบกับเฉลย
เรามาดูกันที่ภาพรวมของข้อสอบการฟังกันก่อน
ข้อสอบในหมวดนี้ ประกอบด้วยคำถามทั้งหมด 40 ข้อ แบ่งเรื่องที่ต้องฟังออกเป็น 4 ส่วน กินขอบข่ายตั้งแต่ชีวิตประจำวันไปจนถึงงานวิชาการ ที่สำคัญ เปิดให้ฟังเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
ข้อสอบฟังมีความยาวประมาณ 30 นาที และผู้สอบมีเวลา 10 นาทีในการคัดลอกคำตอบลงในกระดาษคำตอบ
การฟัง ทำไมยากจัง
ข้อสอบ IELTS หมวดการฟัง ยากกว่าที่คิด ก็เพราะปัจจัยดังต่อไปนี้
- พูดเร็ว ยิ่งกว่าจรวด (หนังสือ IELTS หมวดการฟัง ใช้ความเร็วในการพูดใกล้เคียงกับความเร็วตามธรรมชาติของเจ้าของภาษา)
- ต่างคน ต่างสำเนียง (เราอาจได้ยินทั้งสำเนียงจากอังกฤษ ออสเตรเลีย แคนาดา)
- มีคำศัพท์ หรือวลีที่ไม่คุ้นเคย (เรามัก “อึ้ง” ไปกับคำพวกนื้ และพลาดข้อมูลสำคัญที่จะตามเรื่องต่อ)
- ไม่มีภาพช่วยเดา (เราไม่สามารถเห็นหน้าค่าตา ท่าทางของผู้พูด ทำให้บางครั้งก็ยากที่จะตามทัน)
- ลักษณะการออกเสียง (ในภาษาอังกฤษจริงๆ แล้ว มีทั้งเสียงที่เปลี่ยนไปตามเสียงคำที่อยู่ข้างเคียง เสียงที่ไม่ออกเสียง บ้างก็ออกอักขระไม่ครบ บ้างรวบรัดเป็นเสียงเดียว หรือบางทีก็รวมกันจนเกิดเป็นเสียงใหม่ที่เชื่อมระหว่างคำ)
เผยสูตรเด็ด ?
สูตรเด็ดวันนี้ คือ การคาดการณ์
วิธีการคือให้เราลองจินตนาการว่าตัวเองก็อยู่ในสถานการณ์นั้นเหมือนกัน ใครคือคนพูด
ทำไมเขาต้องมาพูด และประเด็นคืออะไร จากนั้นก็ใช้ข้อมูลความรู้ที่มี มาประมวลดูว่า
หากเกิดสถานการณ์เดียวกันในตอนนี้ ผู้คนทั่วไปจะมีปฏิกิริยาตอบโต้อย่างไร
ลักษณะเหมือนการคาดการณ์ล่วงหน้าว่าสิ่งเหล่านี้ผู้พูดก็น่าจะพูดเหมือนกัน
วิธีการนี้จะทำให้เรารับมือกับข้อสอบได้ง่ายขึ้น เพราะรู้ก่อนแล้วว่า
ผู้พูดจะพูดอะไรบ้าง
เดาอย่างมีเทคนิค
สืบทุกร่องรอยที่บอกใบ้ในกระดาษคำตอบและข้อมูลที่ได้รับตั้งแต่ออกสตาร์ท
โดยปกติ ก่อนที่บทพูดในข้อสอบจะเริ่ม
เราจะได้ยินเสียงผู้ประกาศเล่าถึงสถานการณ์และรายละเอียดเบื้องต้นเพื่อให้เราเข้าใจคร่าวๆ
ถึงเรื่องราวที่จะเกิดขึ้นต่อไป นอกจากนี้เรายังมีเวลาช่วงสั้นๆ ในการอ่านคำถาม
ซึ่งเราสามารถตัดตวงประโยชน์ได้ดังนี้
·
คำถามปรนัย
ให้ขีดเส้นใต้คำสำคัญๆ (Keywords) และคิดถึงคำที่ความหมายเหมือนอื่นๆ
เพราะบทพูดส่วนใหญ่จะไม่ใช่คำเดียวกับที่เราเห็น ยิ่งเราคิดคำศัพท์ได้เร็วเท่าไร
เรายิ่งมีโอกาสได้ยินคำตอบขณะฟังข้อสอบจริงมากเท่านั้น
·
สำหรับคำถามที่ให้เรากำหนดแผนผัง
ลองใช้วิธีวาดภาพในใจก็ช่วยได้เช่นกัน
·
คำถามแบบเชิงสรุปความหรือความสมบูรณ์ของประโยค
ให้เรามองหาช่องว่างและใช้คำใบ้ที่หาได้ เพื่อคาดเดาคำศัพท์ หรือชนิดของคำที่หายไป
เช่น ในประโยคนั้นเริ่มต้นด้วย Article
ตามด้วยช่องว่าง สิ่งที่เราต้องใส่ลงไปก็คือ คำนาม (Noun) หรือ นามวลี (Noun phrase)
·
ข้อสอบส่วนเติมข้อความให้สมบูรณ์
พยายามคิดว่า คำหรือข้อมูลชนิดไหนที่หายไป
โดยใช้ความรู้ที่อยู่ก่อน บวกกับความรู้เกี่ยวกับคำที่มักใช้คู่กันในภาษาอังกฤษเป็นตัวช่วยในหมวดนี้
·
คำถามแบบตารางสำเร็จรูป
อันนี้ให้ดูว่า อะไรในตารางที่ขาดหายไป ชื่อ ตัวเลข วันที่ หรือสถานที่ ?
ลองนำเทคนิคเหล่านี้ไปลองฝึกฝน ฝึกฟังกันดู
เพื่อเวลาทำข้อสอบจริงๆ จะได้คล่องๆ และทำคะแนนได้อย่างที่ต้องการ
![]() | เกี่ยวกับผู้เขียน Russell Evans มีประสบการในการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยมากว่า 10 ปีแล้ว และนอกจากนี้ ยังมีส่วนร่วมในการให้ความช่วยเหลือนักเรียน กับทีม British Council - IELTS มาตั้งแต่ปี 2004 |
No comments:
Post a Comment